การแต่งตั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษโดยวิธีพิเศษ

การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ (แต่งตั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ)

1. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ

หลักเกณฑ์

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยอาจเสนอขออนุมัติ ก.ม. แต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ เช่น เสนอขอแต่งตั้งอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์มาก่อน ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

การเสนอขอแต่งตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่ประกอบด้วย ตำราหรือหนังสือ และผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่มีคุณภาพดีเด่น

วิธีการพิจารณา

ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดต่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันตามแบบที่ ก.ม. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
เมื่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันพิจารณาเห็นสมควรแล้ว จึงเสนอ ก.ม. พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง
ก.ม. โดยคำแนะนำของ อ.ก.ม.วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนเป็น อ.ก.ม. วิสามัญ เพื่อพิจารณาผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ การตัดสินต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมการพิจารณาไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 และเสนอให้ ก.ม. พิจารณาอนุมัติ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษนั้น เมื่อ ก.ม. อนุมัติการแต่งตั้งแล้ว ให้ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

2. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ

หลักเกณฑ์

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยหรือสถาบันสามารถดำเนินการแต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ เช่น แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ยังไม่ครบตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนด ให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ ดังนี้

1. ผลการสอน

มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน และมีความชำนาญพิเศษในการสอนโดยผ่านการประเมินจาก อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด

2. ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย

2.1 เอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว และ

2.2 งานแต่ง เรียบเรียง แปลตำราหรือหนังสือ ที่ใช้ประกอบการศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว หรือ

2.3 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรใดๆ หรือ

2.4 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณค่าเทียบได้ผลงานในข้อ 2.2 หรือ 2.3

วิธีการพิจารณา

ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดต่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย หรือสถาบัน ตามแบบเสนอขอแต่งตั้งที่ ก.ม. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการจำนวน 5 ชุด
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.ม. กำหนด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เสนอขอ จำนวน 5 คน เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ก่อนที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันจะพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการจะต้องแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทั้งหมด และจะต้องมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับรองศาสตราจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ/ผู้ชำนาญการพิเศษ ระดับ 10 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ การตัดสินจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่า 4 ใน 5
เมื่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน อนุมัติการแต่งตั้งแล้ว ให้อธิการบดีเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง แล้วแจ้งให้ ก.ม. ตรวจสอบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการด้วย

3. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ

หลักเกณฑ์

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยหรือสถาบันสามารถดำเนินการแต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ เช่น เสนอขอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ วุฒิปริญญาโท ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งไม่ครบ 5 ปี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ ดังนี้

1. ผลการสอน

มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน และมีความชำนาญในการสอนโดยผ่านการประเมินจาก อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด

2. ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย

2.1 เอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว และ

2.2 งานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ หรือเขียนบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว หรือ

2.3 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ

2.4 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณค่าเทียบได้กับผลงานในข้อ 2.2 หรือ 2.3

วิธีการพิจารณา

ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดต่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ตามแบบเสนอขอแต่งตั้งที่ ก.ม. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ จำนวน 5 ชุด
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.ม. กำหนด โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เสนอขอ จำนวน 5 คน เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ก่อนที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันจะพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการจะต้องแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และจะต้องมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับรองศาสตราจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ชำนาญพิเศษ ระดับ 9 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ การตัดสินจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่า 4 ใน 5
เมื่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน อนุมัติการแต่งตั้งแล้ว ให้อธิการบดีเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง แล้วแจ้งให้ ก.ม. ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการด้วย

ตำแหน่งศาสตราจารย์ในประเทศไทยที่ควรทราบ

ในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ซึ่งการแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สำหรับตำแหน่งศาสตราภิชานอาจเป็นตำแหน่งที่มีกำหนดเวลาโดยจะขึ้นกับปีงบประมาณหรือกองทุนศาสตราภิชานของมหาวิทยาลัยที่เชิญ และศาสตราจารย์กิตติเมธีในประเทศไทยเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาปฏิบัติงานวิจัย ทั้งนี้ตำแหน่งศาสตราภิชานและศาสตราจารย์กิตติเมธี อาจจะมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน โดยขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด

ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของไทย คือ ศาสตราจารย์ ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล แห่งภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการยกย่องจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้เป็น ศาสตรเมธาจารย์ สวทช ประจำปี 2552 (2009 NSTDA Chair Professor)

สำหรับศาสตราจารย์ของไทย ส่วนมากไม่มีผลงานในเชิงทฤษฎี แต่เป็นผลงานงานวิจัย พิสูจน์สมมติฐานที่ได้รับการยอมรับว่าดีมาก ถ้าเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับของไทย ควรได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของราชบัณฑิตสภาหรือวารสารวิชาการของสภาวิจัยแห่งชาติด้วย ศาสตราจารย์ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงทฤษฎี การวิจัย เขียนบทความทางวิชาการ หรือตำราเรียน ที่ผ่านการประเมินเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาแล้ว ศาสตราจารย์ที่ไม่ต้องทำผลงานวิจัย คือ ผู้ที่เขียนบทความทางวิชาการ หรือหนังสือ ที่มีข้อเสนอเชิงวิชาการจำนวนมาก ต้องเป็นแนวคิดใหม่ และหากเป็นงานวิจัยที่เป็นลักษณะสากลควรได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ส่วนงานวิจัยระดับดีเลิศ จะเกี่ยวข้องกับงานเชิงทฤษฎีที่ไขปริศนา สามารถพิสูจน์สมมุติฐานที่มีผู้สร้างไว้ ในด้านงานวิจัยระดับดีมาก ไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลใดๆ แต่มักได้รับการกล่าวถึงโดยงานวิจัยอื่น ๆ

โดยในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานระดับศาสตราจารย์จำนวนหนึ่งไม่เพียงแค่สอนในมหาวิทยาลัยและไม่ได้มีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เลือกที่จะทำงานในบริษัทเอกชน เนื่องจากจะได้ผลตอบแทนสูงกว่ามหาวิทยาลัยระดับกลางค่อนข้างมาก อย่างเช่น บริษัทเอกชนที่มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในสาขาต่างๆ

ความแตกต่างของตำแหน่งศาสตราจารย์แต่ละตำแหน่ง

ตำแหน่งศาสตราจารย์แต่ละตำแหน่ง ประกอบไปด้วย

ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เป็นตําแหน่งที่แต่งตั้งจากอาจารย์ประจําผู้เคยดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความรู้ความสามารถ และความชํานาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตําแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นเกียรติยศได้ศาสตราจารย์ผู้นี้อาจสอนในมหาวิทยาลัยต่อไปก็ได้แต่ไม่ใช่ศาสตราจารย์ที่ต่ออายุราชการ ซึ่งบางมหาวิทยาลัยจะปรากฏชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณหรือศาสตราจารย์เกียรติคุณแยกจากศาสตราจารย์ธรรมดาในคู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ศาสตราภิชาน เป็นตําแหน่งที่ไม่ใช่การกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ แต่งตั้งเพื่อดึงดูดผู้ทรงคุณวุฒิยิ่งมาทํางานในมหาวิทยาลัย เป็นตําแหน่งที่ได้รับเงินสนับสนุนอย่างพอเพียงจากแหล่งเงินทุนภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้ได้รับการแต่งตั้งอาจเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ หรือนักวิชาการที่ไม่เคยดํารงตําแหน่งทางวิชาการก็ได้ เป็นตําแหน่งที่กําหนดภารกิจชัดเจน มีระยะเวลาในการดํารงตําแหน่งและมีค่าตอบแทนของแต่ละตําแหน่งไม่เท่ากัน

ศาสตราจารยคลินิก เป็นตําแหน่งทางวิชาการที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งบุคลากรฝ่ายเวชกรรมที่มีความรู้ความชํานาญ ในด้านการสอน การวิจัย การค้นคว้าทดลอง และวิธีการบําบัดรักษาในภาคปฏิบัติซึ่งมีคุณค่าทางวิชาการ

ศาสตราจารยกิตติมศักดิ์ เป็นตําแหน่งเกียรติยศที่ไม่ใช่ตําแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมหาวิทยาลัยมอบให้แก่บุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญและทําประโยชน์อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยและชุมชน

สำหรับในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยและทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแล้วนำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ

ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ช่วยศาสตราจารย์

TeacherEdu
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การศึกษา การอบรม การวิจัยค้นคว้าในสาขาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง การให้คำแนะนำปรึกษาแก่นิสิตนักศึกษา การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การทะนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ด้านการสอนวิชาการหรือวิชาชีพชั้นสูงในสาขาวิชาต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย ควบคุมและตรวจสอบการวิจัยค้นคว้าอันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาของนิสิตนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาของนิสิตนักศึกษาทางด้านวิชาการและกิจกรรมนิสิตนักศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการชั้นสูง ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ แสดงถึงผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการ ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีหน้าที่หลักในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูง คือมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นสำหรับการสอนทั้งรายวิชาไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดีและได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อบังคับของสภาสถาบัน

ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์จะต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้

– ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 9 ปี หรือ
– ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
– ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
– ผู้ใดดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น แต่ได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

1.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์ และได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี มีความรู้ความสามารถและความชำนาญในการสอน มีผลงานทางวิชาการโดยได้ผ่านการประเมินตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และข้อบังคับสภาสถาบันอุดมศึกษาว่าด้วยเรื่องดังกล่าว
2.มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอาจารย์ และได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี มีความรู้ความสามารถและความชำนาญในการสอน มีผลงานทางวิชาการโดยได้ผ่านการประเมินตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และข้อบังคับสภาสถาบันอุดมศึกษาว่าด้วยเรื่องดังกล่าว

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ครูแห่งวงการศิลปะของไทย

ในวงการศิลปะไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งเป็นครูด้านศิลปะที่เหล่าศิลปินต่างให้การยกย่อง อีกทั้งยังเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาศิลปะในประเทศไทย และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมมีชื่อว่า คอร์ราโด เฟโรชี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ  นายอาร์ทูโด มารดาชื่อ นางซันตินา มีอาชีพทำธุรกิจการค้า  ท่านได้สมรสกับนาง  FANNI  VIVIANI มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรหญิงชื่ออิซาเบลลา ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจ  บุตรชายชื่อ  โรมาโน  เป็นสถาปนิก

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ

นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  เป็นผู้อำนวยการสอนและคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ในระหว่างที่ท่านอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น ท่านเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันให้ศิลปะของไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้จัดการแสดงศิลปะไทยในกรุงลอนดอน ประกอบด้วยผลงานของศิลปินไทยและศิลปะของไทยซึ่งได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม

ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในลำไส้ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และถึงแก่อนิจกรรมในภายหลัง สิริรวมอายุของท่าน 69 ปี รวมเวลารับราชการในไทย 38 ปี ซึ่งนับเป็นการสูญเสียอย่างมากแก่วงการศิลปะ

ในตลอดชีวิตของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อ่านได้อุทิศตนทั้งกายและใจให้กับวงการศิลปะของไทยมาเกือบทั้งชีวิต นอกจากนี้ท่านยังเป็นครูที่มีความเมตตากรุณา และถือหลักคุณธรรมเป็นที่ตั้ง ก่อนท่านถึงแก่อนิจกรรมท่านได้วางรากฐานของศิลปะให้แก่คนรุ่นหลังไว้อีกด้วย

ทฤษฎีของศาสตราจารย์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Bandura 1963) จึงเรียกการเรียนรู้จากการสังเกตว่า “การเรียนรู้โดยการสังเกต” หรือ “การเลียนแบบ” และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ บันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูรา (1969, 1971) จึงเปลี่ยนชื่อทฤษฎีการเรียนรู้ของท่านว่า การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น การเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้เนื่องจากบันดูราพบจากการทดลองว่า สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ด้วยการสังเกต คือ ผู้เรียนจะต้องเลือกสังเกตสิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยเฉพาะ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนจะต้องมีการเข้ารหัส (Encoding) ในความทรงจำระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย (metacognitive) บันดูรา Bandura, 1986 จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา (Cognitive Processes) การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling)บันดูรา (Bandura) มีความเห็นว่าทั้งสิ่งแวดล้อม และตัวผู้เรียนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน บันดูรากล่าวว่า คนเรามีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเราอยู่เสมอการเรียนรู้เกิดจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์หรืออาจจะเป็นรูปภาพการ์ตูนหนังสือก็ได้

ศาสตราจารย์ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง

23

ในประเทศไทยตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ( หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพื่อแต่งตั้งเช่นกัน

สำหรับตำแหน่งศาสตราภิชานอาจเป็นตำแหน่งที่มีกำหนดเวลา มักขึ้นกับปีงบประมาณหรือกองทุนศาสตราภิชานของมหาวิทยาลัยที่เชิญ ส่วนศาสตราจารย์กิตติเมธีในประเทศไทยเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาปฏิบัติ งานวิจัยและบริการวิชาการที่นอกเหนือและสูงกว่างานของศาสตราจารย์ประจำ เช่น กิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างไรก็ดี ทั้งตำแหน่งศาสตราภิชานและศาสตราจารย์กิตติเมธี อาจมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน เช่น ศาสตราภิชานของไทยมีวาระเพียงปีเดียว อนึ่ง การใช้ชื่อ ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ “กิตติคุณ” ส่วน มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ “เกียรติคุณ” เป็นต้น ซึ่งความเป็นอาจารย์ประจำในกรณีนี้ หมายถึง การผูกพันเป็นการประจำกับคณะที่ขอแต่งตั้ง ต่างกับศาสตราจารย์เกษียณอายุที่ได้รับการต่ออายุราชการถึง 65 ปี ซึ่งถือเป็นการทำงานประจำเต็มเวลาปกติเหมือนอาจารย์ประจำทั่วไป ในประเทศไทยยังมีผู้เข้าใจว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นศาสตราจารย์มาก่อนซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป

ศาสตราจารย์ คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้างความหมายของ ศาสตราจารย์ แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพหลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ

ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยศาสตราจารย์คลินิกจะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านการสอนและการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่สอนนักศึกษาแพทย์ด้านคลินิก มีการค้นคว้าทดลองวิธีการรักษา หรือค้นพบสิ่งใหม่ในทางปฏิบัติ ได้นำผลนั้นมาเผยแพร่และสอนทางปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวิชาการ แต่มีรูปแบบของผลงานไม่เข้าเกณฑ์ที่ใช้ขอตำแหน่งตามปกติ ในต่างประเทศ มีการตั้งตำแหน่ง ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ (professor of practice) สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพนั้นๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาวิชาชีพ เช่น สาขาการออกแบบวางแผน หรือการบัญชีเชิญมาเป็นอาจารย์สอนประจำแบบไม่เต็มเวลา หรือไม่ครบ 4 องค์ประกอบหลัก บางครั้งเรียก “adjunct professor”

ศาสตราจารย์ในประเทศไทย ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ

ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานระดับศาสตราจารย์จำนวนหนึ่ง มิได้สอนในมหาวิทยาลัย และมิได้มีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เลือกที่จะทำงานในบริษัทเอกชน มักจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ามหาวิทยาลัยระดับกลางค่อนข้างมาก ตัวอย่างบริษัทเอกชนที่มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในสาขาต่างๆ เช่น ในสาขาไอที ได้แก่ ไมโครซอฟท์ ] สาขาการแพทย์ ได้แก่ Biogen สาขาสื่อสาร ได้แก่ AT&T ผลงานวิจัยจากบริษัทเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อวิถีการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ (รวมถึงศาสตราจารย์) ในสาขานั้น ๆ ทั่วโลก

ในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ( หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น

การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพื่อแต่งตั้งเช่นกัน

สำหรับตำแหน่งศาสตราภิชานอาจเป็นตำแหน่งที่มีกำหนดเวลา มักขึ้นกับปีงบประมาณหรือกองทุนศาสตราภิชานของมหาวิทยาลัยที่เชิญ ส่วนศาสตราจารย์กิตติเมธีในประเทศไทยเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาปฏิบัติ งานวิจัยและบริการวิชาการที่นอกเหนือและสูงกว่างานของศาสตราจารย์ประจำ เช่น กิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างไรก็ดี ทั้งตำแหน่งศาสตราภิชานและศาสตราจารย์กิตติเมธี อาจมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน เช่น ศาสตราภิชานของไทยมีวาระเพียงปีเดียว

อนึ่งการใช้ชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ “กิตติคุณ” ส่วน มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ “เกียรติคุณ” เป็นต้น ซึ่งความเป็นอาจารย์ประจำในกรณีนี้ หมายถึง การผูกพันเป็นการประจำกับคณะที่ขอแต่งตั้ง ต่างกับศาสตราจารย์เกษียณอายุที่ได้รับการต่ออายุราชการถึง 65 ปี ซึ่งถือเป็นการทำงานประจำเต็มเวลาปกติเหมือนอาจารย์ประจำทั่วไป ในประเทศไทยยังมีผู้เข้าใจว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นศาสตราจารย์มาก่อนซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของไทย คือ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล แห่งภาควิชา เคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการยกย่องจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) ให้เป็น ศาสตรเมธาจารย์ สวทช ประจำปี 2552 (2009 NSTDA Chair Profess

ศาสตราจารย์ของไทย ส่วนมากไม่มีผลงานในเชิงทฤษฎี แต่เป็นผลงานงานวิจัย พิสูจน์สมมติฐาน ที่ได้รับการยอมรับว่า ‘ ดีมาก ‘ ถ้าเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับของไทย (เช่น ประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย โบราณคดี) ควรได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการของ ราชบัณฑิตสภา หรือวารสารวิชาการของ สภาวิจัยแห่งชาติ มิใช่เพียงวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ตำแหน่งประจำในมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญยิ่งในสาขาวิชา

ผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง

ประเภทของศาสตราจารย์
ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำ
ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา
ศาสตราจารย์ประเภทนี้ เป็นศาสตราจารย์ที่เป็นพื้นฐานหลักของมหาวิทยาลัย เป็นตำแหน่งประจำ เช่น เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย (รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเอกชน) ที่สอนประจำอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันอุดมศึกษา โดยต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย หรือระเบียบตามกฎหมายของประเทศนั้น

ศาสตราจารย์คลินิก
ศาสตราจารย์คลินิกจะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านการสอนและการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่สอนนักศึกษาแพทย์ด้านคลินิก มีการค้นคว้าทดลองวิธีการรักษา หรือค้นพบสิ่งใหม่ในทางปฏิบัติ ได้นำผลนั้นมาเผยแพร่และสอนทางปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวิชาการ แต่มีรูปแบบของผลงานไม่เข้าเกณฑ์ที่ใช้ขอตำแหน่งตามปกติ ในต่างประเทศ มีการตั้งตำแหน่ง ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ (professor of practice) สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพนั้นๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาวิชาชีพ เช่น สาขาการออกแบบวางแผน หรือการบัญชีเชิญมาเป็นอาจารย์สอนประจำแบบไม่เต็มเวลา หรือไม่ครบ 4 องค์ประกอบหลัก บางครั้งเรียก “adjunct professor”

ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แต่งตั้งจาก “อาจารย์ประจำ” ผู้เคยเป็นศาสตราจารย์มาแล้วจากการวิจัยและ/หรือแต่งตำราของมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญพิเศษได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในสาขาวิชานั้นมาก่อน และเกษียณอายุราชการแล้ว ที่สถาบันอุดมศึกษา เห็นสมควรแต่งตั้งเพื่อให้สร้างคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่ภาคหรือสาขาวิชานั้นต่อไป โดยถือว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งยังคงมีสิทธิ์ใช้ชื่อศาสตราจารย์นำหน้า และยังสามารถบ่งบอกสังกัดตนได้ต่อไปจนถึงแก่กรรมหรือเมื่อทำความผิดร้ายแรง ตำแหน่งนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “professor emeritus” ซึ่งธรรมเนียมการใช้ชื่อในภาษาอังกฤษจะใช้โยงกับสาขาวิชา เช่น Professor Emeritus of Mathematics Isaac Newton หรือ Isaac Newton, Professor Emeritus of Mathematics เป็นต้น

ตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ไม่ประจำ หรือแต่งตั้งโดยวิธีอื่น
มหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งบุคคลภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญยิ่งในสาขาวิชาที่เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีของนักวิชาการชั้นเยี่ยม มีมาตรฐานสูงทางคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยมหาวิทยาลัยกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนหรือเงินตอบแทนจากทุนต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่เป็นงานทางวิชาการ โดย

ศาสตราจารย์พิเศษ
ศาสตราจารย์พิเศษ อักษรย่อ ศ.(พิเศษ) เป็นศาสตราจารย์ที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันนั้น โดยต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ที่อาจจะเป็นอาจารย์พิเศษทรงคุณวุฒิสูง และทำหน้าที่สอนให้มหาวิทยาลัยมานาน หรือเป็นบุคคลที่ได้อุทิศตัว มีความรู้มีประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านการประเมิน โดยการกลั่นกรองจากสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาเสนอ

ศาสตราจารย์ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงทฤษฎี การวิจัย เขียนบทความทางวิชาการ หรือตำราเรียน ที่ผ่านการประเมินเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาแล้ว ศาสตราจารย์ที่ไม่ต้องทำผลงานวิจัย หมายถึง ผู้ที่เขียนบทความทางวิชาการ (หรือหนังสือ) ที่มีข้อเสนอเชิงวิชาการจำนวนมาก ต้องเป็นแนวคิดใหม่ และต่อมาคนในวงการเรียก ข้อเสนอหรือแนวคิดใหม่ ดังกล่าวนั้น ว่า ทฤษฎี ดังเช่น Albert Einstein ที่ไม่เคยทำงานวิจัย หรือเข้าห้องทดลอง แต่เสนอเรื่องสัมพันธภาพระหว่างความเร็วและเวลา และต่อมาคนในวงการเรียกข้อเสนอดังกล่าวว่าทฤษฎี หากเป็นงานวิจัยที่เป็นลักษณะสากล (วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์) ควรได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ส่วนงานวิจัยระดับดีเลิศ มักเกี่ยวข้องกับงานเชิงทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ใหม่ ที่ไขปริศนา หรือพิสูจน์สมมุติฐานที่มีผู้สร้างไว้ งานวิจัยระดับดีมาก หรือดีเลิศนั้น ไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลใดๆ ทั้งสิ้น แต่มักได้รับการกล่าวถึง หรืออ้างอิงถึง โดยงานวิจัยอื่น ๆ ที่ตามมาภายหลัง จำนวนการอ้างอิงนี้ ถึงบ่งบอกถึงความสำคัญของงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ไม่ใช่จำนวนรางวัลที่ได้รับ

เทคนิคการก้าวสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ให้ประสบความสำเร็จ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นมี อาจารย์ 874 คน คิดเป็น 43.2% มีผู้ช่วยศาสตราจารย์จำนวน 639 คน คิดเป็น 31.6% มีรองศาสตราจารย์ จำนวน 467 คน คิดเป็น 23.1% และมีศาสตราจารย์จำนวน 43 คนคิดเป็น 2.1% ซึ่งการที่เราจะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศได้นั้นต้องอาศัยองค์ความรู้มากมายรวมทั้งการเพิ่มจำนวนศาสตราจารย์ให้มากขึ้น โดยเป้าหมายที่วางไว้คือมีผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 40 คนต่อปี นับเป็นความท้าทายที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นต้องช่วยกันผลักดัน และกระตุ้นตำแหน่งศาสตราจารย์ให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นเพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 3 ของประเทศ อันดับ 80 ของเอเชีย และอันดับ 400 ของโลก การก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการในระดับศาสตราจารย์เป็นเรื่องยากแต่ไม่เกินความสามารถของผู้ที่ไม่คิดย่อท้อ เพียงเราสู้ ไม่คิดท้อถอย ทุกท่านก็สามารถเป็นศาสตราจารย์ได้ในเร็ววัน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้อุดหนุนโครงการ การจัดเสวนาให้ความรู้ และการสร้างกิจกรรม อันคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นให้คณาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นจำนวนเงินกว่า 5 ล้านบาทต่อปี เพื่อเปิดโอกาสให้ศาสตราจารย์ทั้งภายในและภายนอก ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป

การพิจารณากลั่นกรองนั้นเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่นักวิจัยต้องคำนึงถึง อาทิ การมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ การนำเสนอผลงานวิชาการ และการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรองศาสตราจารย์ทุกท่านต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อขอตำแหน่งวิชาการให้การยื่นขอศาสตราจารย์ได้สำเร็จสำคัญในการทำให้ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์คือ ผลงานต้องมีและอยู่ในระดับดีมาก โอกาสต้องดี หากเป็นไปตามกฎ 3 ข้อนี้ โอกาสที่จะไม่ผ่านการพิจารณานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาต้องใช้ความพยายามอย่างสูง จึงขอให้กำลังใจเพื่อนนักวิชาการทุกท่านว่าอย่าท้อถอย และสักวันหนึ่งท่านจะก้าวสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ไม่ยากเทคนิคการก้าวสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้น ผลงานต้องเป็นเรื่องใหม่เป็นเรื่องที่โลกไม่เคยค้นพบ ห้ามทำซ้ำกับบุคคลอื่น หากเป็นงานประจำที่เราทำอยู่แล้วจะเป็นสิ่งที่เราถนัดและทำออกมาได้ดีเพราะไม่มีใครรู้เท่าเราแน่นอน เพราะผลงานต้องใช้ความอดทนมากพอควร ทุนวิจัยไม่ใช่ปัญหาต้องค้นคว้าหาเพิ่มเติมจากองค์กรภายนอก การส่ง paper ห้ามเน้นที่จำนวน ให้เน้นที่คุณภาพ การทำผลงานต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำ paper ได้ดี และสุดท้ายการทำงานต้องอาศัยทีมที่แข็งแกร่งทำงานด้วยความสามัคคี อย่าย่อท้อ

โครงการฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อพัฒนาอาจารย์

ทิศทางและบทบาทของระบบการศึกษาในอนาคต

เกี่ยวข้องกับบทบาทของการศึกษาทุกระดับ เพราะสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งผลิตกำลังคนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบอาชีพได้ในอนาคต รวมทั้งศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป เพื่อออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติจึงต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพและมาตรฐานของการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญ องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ นักเรียน นักศึกษา ประสบผลสำเร็จในการศึกษา นอกจากความมั่นใจและความตั้งใจของนักเรียน นักศึกษาเองแล้วคุณภาพของนักเรียน นักศึกษานั้นก็ขึ้นอยู่กับอาจารย์ด้วย

การพัฒนาอาจารย์จะเป็นแนวทางการพัฒนาด้านการสอนระหว่างปฏิบัติการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ผู้ที่ปฏิบัติการอยู่แล้วได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและการดำเนินงานด้านต่างๆให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งบทบาทของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาจึงนับว่าสำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนนักศึกษาให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุด การพัฒนาอาจารย์จึงเป็นการช่วยให้อาจารย์ได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ มีทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพ รวมทั้งปรับปรุงทัศนคติ เจตคติ ของอาจารย์ต่อองค์การและหน่วยงานให้ทันต่อเหตุการณ์และรับรู้ เรียนรู้ เทคนิคต่างๆในด้านการปฏิบัติงาน และการสอนรวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษา

การจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาอาจารย์ด้านการสอน การวัดผลการศึกษา การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการ การดำเนินงานเพื่อเชิดชูเกียรติและให้รางวัลอาจารย์ การดำเนินการเรื่องทุนศึกษาต่อของอาจารย์ทั้งทุนในประเทศและทุนต่างประเทศ ทั้งทุนของมหาวิทยาลัยและจากแหล่งทุนอื่น การจัดสรรทุนให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตลอดจนการกำกับดูแลกองทุนบัณฑิตศึกษา ควรส่งเสริมให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และควรมีฝ่ายสนับสนุนทางด้านการพัฒนาอาจารย์ที่ชัดเจนเพื่อให้อาจารย์ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นขั้นตอนและบรรลุภารกิจของอาจารย์ได้

วิธีการพัฒนาอาจารย์และการฝึกอบรม

1.การศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ
2.การรับการฝึกอบรมในเรื่องต่างๆทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ การบริหารและเรื่องอื่นที่เป็นประโยชน์
3.การร่วมประชุมปฏิบัติการ การประชุมทางวิชาการ การสัมมนา
4.การฝึกปฏิบัติงานด้านต่างๆ
5.การศึกษาปฏิบัติด้วยตนเอง
6.การผลัดเปลี่ยนตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษา
7.การประเมินการปฏิบัติงานของคณาจารย์
8.การช่วยกิจกรรมทั้งด้านวิชาการและสังคมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
9.กิจกรรมอื่นๆ เช่น การพัฒนาตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ

ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นต้องมีความสามารถหลากหลายด้าน

ตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ผลการสอน และผลงานทางวิชาการ ดังนี้
3.1 คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง จะต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3.2 ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและมีความเชี่ยวชาญในการสอน โดยผ่านการประเมินจาก อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด
3.3 ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1
1.1 เสนองานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว และ
1.2 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
1.3 มีผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่สามารถประเมินคุณค่าเทียบได้กับผลงานทางวิชาการตามข้อ 1.2

วิธีที่ 2
2.1 เสนองานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว หรือ
2.2 ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่น ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
2.3 มีผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น ตำรา งานวิจัย และงานวิชาการในลักษณะอื่นตามข้อ 1.1, 1.2, 1.3 และ 2.1, 2.2, 2.3 จะต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย นอกจากนั้น ก.ม. ให้ผู้ขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ระบุวิธีการเสนอผลงานทางวิชาการว่าเสนอขอโดยวิธีใดให้ชัดเจนในแบบ ก.ม.03 อีกด้วย

และปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เหล่าศาสตราจารย์ทั้งหลายจะต้องมีความรู้ทางด้านนี้ด้วย เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่โลกของนวัตกรรมที่ทุกอย่างขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีด้านต่างๆ

เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีความสำคัญกับศาสตราจารย์

ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ (หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น

การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพื่อแต่งตั้งเช่นกัน

ในการทำงานสายวิชาการนั้น เป็นงานที่กว้างขวางมากทุกฅนคงทราบว่ารัฐบาลได้พยายามดำเนินการปฎิรูปการศึกษาเพื่อให้ความกว้างขวางหลากกลายนั้นถูกกำหนดให้เป็นระบบเพื่อการบริหารและปฎิบัติการได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีคุณธรรมโปร่งใสและคุ้มค่าในขบวนการเหล่านี้ตัวแปรสำคัญที่สุดหรือจะเรียกว่าหน่วยการทำงานทางวิชาการ

ศาสตราจารย์ต้องมีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันนี้ใครไม่รู้หรือใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นจะถูกตราหน้าว่าเป็นฅน “ตกรุ่น” ไปเสียแล้ว แต่รู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คงไม่พอจะต้องบริหารข้อมูลเป็น มีจริยธรรม รู้ใช้ซอฟท์แวร์ที่สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกมาใช้ให้เหมาะสมกับงานสอน ทุกวันนี้เราบริโภคเทคโนโลยีเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากเล่าที่จะเป็นตัวแปรอย่างใหญ่หลวงทางการศึกษาในทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการสอน วิจัย บริหาร วิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

บริหารเวลาเป็น อันนี้นี้สำคัญมากเพราะการเตรียมเวลาให้กับตนเองได้ทำงานตามหน้าที่ ที่รับผิดชอบนั้น จะต้องคล้องจองกับโอกาสในการทำงาน ต้องมีสมุดพกเล่มเล็กๆเพื่อบันทึกวัน เวลา เดือน เอาไว้ พร้อมกับการนัดหมายอื่นๆ เอาไว้เพื่อกันลืม เวลานั้นมีค่ามากเมื่อเราต้องการมัน ทุกท่านคงจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเวลามาแล้ว ที่สำเร็จก็มี ที่พลาดไปก็เป็นธรรมดาแต่ควรมาสอนตรงเวลาและหยุดสอนตรงเวลาด้วยเช่นกัน

การเล็งเห็นถึงความสำคัญในการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์

ตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยตำแหน่งทางวิชาการตามกฎหมายสำหรับอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน คือ อาจารย์ (instructor) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (assistant professor) รองศาสตราจารย์  (associate professor) และศาสตราจารย์ เป็นการกำหนดตำแหน่งที่เหมือนกับในระบบอเมริกัน โดยที่ตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์ที่มีอาวุโสทางวิชาการสูงสุดและเป็นหัวหน้าภาควิชา (departmental chair) ในบางประเทศเรียกอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยในเชิงยกย่องและสุภาพว่า professor

การก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการในระดับศาสตราจารย์

เป็นเรื่องยากแต่ไม่เกินความสามารถของผู้ที่ไม่คิดย่อท้อ เพียงเราสู้ ไม่คิดท้อถอย ทุกท่านก็สามารถเป็นศาสตราจารย์ได้ในเร็ววัน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้อุดหนุนโครงการการจัดเสวนาให้ความรู้ และการสร้างกิจกรรมอันคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นให้คณาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นจำนวนเงินกว่า 5 ล้านบาทต่อปี เพื่อเปิดโอกาสให้ศาสตราจารย์ทั้งภายในและภายนอกได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่อไป

หลักสำคัญในการทำให้ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์

คือ ผลงานต้องมีและอยู่ในระดับดีมาก โอกาสต้องดี หากเป็นไปตามกฎโอกาสที่จะไม่ผ่านการพิจารณานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เทคนิคการก้าวสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นผลงานต้องเป็นเรื่องใหม่เป็นเรื่องที่โลกไม่เคยค้นพบ ห้ามทำซ้ำกับบุคคลอื่น หากเป็นงานประจำที่เราทำอยู่แล้วจะเป็นสิ่งที่เราถนัดและทำออกมาได้ดีเพราะไม่มีใครรู้เท่าเราแน่นอน เพราะผลงานต้องใช้ความอดทนมากพอควร ทุนวิจัยไม่ใช่ปัญหาต้องค้นคว้าหาเพิ่มเติมจากองค์กรภายนอก การส่ง paper ห้ามเน้นที่จำนวน ให้เน้นที่คุณภาพ การทำผลงานต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำ paper ได้ดี และสุดท้ายการทำงานต้องอาศัยทีมที่แข็งแกร่งทำงานด้วยความสามัคคี อย่าย่อท้อ

ผู้ได้รับการแต่งตั้งอาจเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ หรือนักวิชาการที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งทางวิชาการก็ได้ เป็นตำแหน่งที่กำหนดภารกิจชัดเจน มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและมีค่าตอบแทนของแต่ละตำแหน่งไม่เท่ากัน คือตำแหน่งของผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติการสอน วิจัย หรือเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยทำงานไม่เต็มเวลา