เคล็ดไม่ลับสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์กับความสำเร็จในการทำงาน

การก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการในระดับศาสตราจารย์เป็นเรื่องยากแต่ไม่เกินความสามารถของผู้ที่ไม่คิดย่อท้อ เพียงเราสู้ ไม่คิดท้อถอย ทุกท่านก็สามารถเป็นศาสตราจารย์ได้ในเร็ววันการจัดเสวนาให้ความรู้ และการสร้างกิจกรรม อันคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นให้คณาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นจำนวนเงินกว่า 5 ล้านบาทต่อปี เพื่อเปิดโอกาสให้ศาสตราจารย์ทั้งภายในและภายนอก ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คณาจารย์ต่อไป

เคล็ดลับความสำเร็จในการทำงานสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์
– มีเครือข่าย การทำงานจำเป็นต้องมีเครือข่ายเป็นผู้สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษา เช่น ขณะที่ศาสตราจารย์เป็นรองคณบดี ต้องดำเนินการผันงบประมาณจากหมวดอื่น ใช้สัมพันธภาพที่ดีและการมีเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถเขียนแบบและดำเนินขั้นตอนต่างๆ จนสำเร็จ   ซึ่งการสร้างเครือข่ายนี้เกิดจากการมีสัมพันธภาพที่ดี ต้องมีเทคนิค อาทิ การเลี้ยงอาหาร การมอบสิ่งตอบแทน การมีของฝากเป็นต้น
– รักและใส่ใจงานมีความรักในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ไม่ว่าขณะนั้นจะเป็นอาจารย์ในภาควิชา เป็นรองคณบดีหรือหัวหน้าภาควิชาฯ งานไม่เคยทำให้ใครตาย ด้านการสอนนั้น  เราต้องรู้จริงในเรื่องที่เราจะสอน  มีการนำผลการวิจัยมาใช้ในการเรียนการสอน การสอนสุขศึกษาไม่จำเป็นต้องสอนเหมือนกัน อาจต่างกันไปตามปัญหา เช่นกรณีลูกป่วยเป็นโรคหัวใจ พ่อแม่อาจต้องการเงิน แต่หากลูกมีปัญหาเรื่องสมอง พ่อแม่ต้องการความรู้เรื่องการเลี้ยงดูมากกว่าเงินทอง
– กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ไม่กลัวการแข่งขัน ไม่ยอมแพ้ ไม่กลัวคนโกรธถ้าคิดว่าเราทำถูก และไม่เคยปฏิเสธงาน ไม่มีปัญหาอะไรที่แก้ไม่ได้  ไม่อายที่จะขอความรู้จากผู้รู้ นอกจากนั้นต้องกล้าสอน เมื่อพบนักศึกษามีพฤติกรรมไม่ถูกต้องหรือแต่งกายไม่สุภาพจะตักเตือนทันที เพราะถือว่าไม่สอนวิชาอย่างเดียว ต้องสอนเรื่องอื่นๆด้วย ท่านบอกว่าเป็นนักล่าทุนและกล้าลงสมัครชิงตำแหน่งต่างๆ เพราะไม่อายหากไม่ชนะ ย้ำว่า งานไม่เคยทำให้ใครตาย เมื่อรับงานมาแล้ว เรียงลำดับก่อนหลัง เหนื่อยล้าก็พักก่อน
– เป็นตัวอย่างที่ดี  อาจารย์ต้องถ่ายทอดเก่ง เข้าใจความแตกต่างของนักศึกษา สามารถสอนเรื่องยากให้เข้าใจง่าย สอนเด็กไม่เก่งให้ขยันเรียน ขณะเดียวกันก็ต้องสอนเด็กเก่งให้รู้สึกสนุกไปด้วย  อาจารย์ต้องพูดมีควบกล้ำ ตรงต่อเวลา แม่นในเนื้อหา ครูต้องรู้มากกว่านักศึกษา ถ้าไม่รู้ก็บอกว่าจะไปหาข้อมูลมาให้  อาจารย์จะเก่งได้ต้องมีงานวิจัย  sheet ที่แจกนักศึกษาควรอ้างอิงงานวิจัย ซึ่งอาจเป็นงานวิจัยของเราหรือคนอื่นก็ได้

ศาสตราจารย์ตำแหน่งประจำในมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญยิ่งในสาขาวิชา

ผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง

ประเภทของศาสตราจารย์
ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำ
ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา
ศาสตราจารย์ประเภทนี้ เป็นศาสตราจารย์ที่เป็นพื้นฐานหลักของมหาวิทยาลัย เป็นตำแหน่งประจำ เช่น เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย (รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเอกชน) ที่สอนประจำอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันอุดมศึกษา โดยต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย หรือระเบียบตามกฎหมายของประเทศนั้น

ศาสตราจารย์คลินิก
ศาสตราจารย์คลินิกจะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านการสอนและการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่สอนนักศึกษาแพทย์ด้านคลินิก มีการค้นคว้าทดลองวิธีการรักษา หรือค้นพบสิ่งใหม่ในทางปฏิบัติ ได้นำผลนั้นมาเผยแพร่และสอนทางปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวิชาการ แต่มีรูปแบบของผลงานไม่เข้าเกณฑ์ที่ใช้ขอตำแหน่งตามปกติ ในต่างประเทศ มีการตั้งตำแหน่ง ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ (professor of practice) สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถสูงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพนั้นๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาวิชาชีพ เช่น สาขาการออกแบบวางแผน หรือการบัญชีเชิญมาเป็นอาจารย์สอนประจำแบบไม่เต็มเวลา หรือไม่ครบ 4 องค์ประกอบหลัก บางครั้งเรียก “adjunct professor”

ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แต่งตั้งจาก “อาจารย์ประจำ” ผู้เคยเป็นศาสตราจารย์มาแล้วจากการวิจัยและ/หรือแต่งตำราของมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญพิเศษได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในสาขาวิชานั้นมาก่อน และเกษียณอายุราชการแล้ว ที่สถาบันอุดมศึกษา เห็นสมควรแต่งตั้งเพื่อให้สร้างคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่ภาคหรือสาขาวิชานั้นต่อไป โดยถือว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งยังคงมีสิทธิ์ใช้ชื่อศาสตราจารย์นำหน้า และยังสามารถบ่งบอกสังกัดตนได้ต่อไปจนถึงแก่กรรมหรือเมื่อทำความผิดร้ายแรง ตำแหน่งนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “professor emeritus” ซึ่งธรรมเนียมการใช้ชื่อในภาษาอังกฤษจะใช้โยงกับสาขาวิชา เช่น Professor Emeritus of Mathematics Isaac Newton หรือ Isaac Newton, Professor Emeritus of Mathematics เป็นต้น

ตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ไม่ประจำ หรือแต่งตั้งโดยวิธีอื่น
มหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งบุคคลภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญยิ่งในสาขาวิชาที่เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีของนักวิชาการชั้นเยี่ยม มีมาตรฐานสูงทางคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น โดยมหาวิทยาลัยกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนหรือเงินตอบแทนจากทุนต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่เป็นงานทางวิชาการ โดย

ศาสตราจารย์พิเศษ
ศาสตราจารย์พิเศษ อักษรย่อ ศ.(พิเศษ) เป็นศาสตราจารย์ที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันนั้น โดยต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ที่อาจจะเป็นอาจารย์พิเศษทรงคุณวุฒิสูง และทำหน้าที่สอนให้มหาวิทยาลัยมานาน หรือเป็นบุคคลที่ได้อุทิศตัว มีความรู้มีประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านการประเมิน โดยการกลั่นกรองจากสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้พิจารณาเสนอ

ศาสตราจารย์ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงทฤษฎี การวิจัย เขียนบทความทางวิชาการ หรือตำราเรียน ที่ผ่านการประเมินเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ มาแล้ว ศาสตราจารย์ที่ไม่ต้องทำผลงานวิจัย หมายถึง ผู้ที่เขียนบทความทางวิชาการ (หรือหนังสือ) ที่มีข้อเสนอเชิงวิชาการจำนวนมาก ต้องเป็นแนวคิดใหม่ และต่อมาคนในวงการเรียก ข้อเสนอหรือแนวคิดใหม่ ดังกล่าวนั้น ว่า ทฤษฎี ดังเช่น Albert Einstein ที่ไม่เคยทำงานวิจัย หรือเข้าห้องทดลอง แต่เสนอเรื่องสัมพันธภาพระหว่างความเร็วและเวลา และต่อมาคนในวงการเรียกข้อเสนอดังกล่าวว่าทฤษฎี หากเป็นงานวิจัยที่เป็นลักษณะสากล (วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์) ควรได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ส่วนงานวิจัยระดับดีเลิศ มักเกี่ยวข้องกับงานเชิงทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ใหม่ ที่ไขปริศนา หรือพิสูจน์สมมุติฐานที่มีผู้สร้างไว้ งานวิจัยระดับดีมาก หรือดีเลิศนั้น ไม่จำเป็นต้องได้รับรางวัลใดๆ ทั้งสิ้น แต่มักได้รับการกล่าวถึง หรืออ้างอิงถึง โดยงานวิจัยอื่น ๆ ที่ตามมาภายหลัง จำนวนการอ้างอิงนี้ ถึงบ่งบอกถึงความสำคัญของงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ไม่ใช่จำนวนรางวัลที่ได้รับ

ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นต้องมีความสามารถหลากหลายด้าน

ตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ผลการสอน และผลงานทางวิชาการ ดังนี้
3.1 คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง จะต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3.2 ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและมีความเชี่ยวชาญในการสอน โดยผ่านการประเมินจาก อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด
3.3 ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1
1.1 เสนองานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว และ
1.2 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
1.3 มีผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่สามารถประเมินคุณค่าเทียบได้กับผลงานทางวิชาการตามข้อ 1.2

วิธีที่ 2
2.1 เสนองานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว หรือ
2.2 ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่น ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
2.3 มีผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น ตำรา งานวิจัย และงานวิชาการในลักษณะอื่นตามข้อ 1.1, 1.2, 1.3 และ 2.1, 2.2, 2.3 จะต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย นอกจากนั้น ก.ม. ให้ผู้ขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ระบุวิธีการเสนอผลงานทางวิชาการว่าเสนอขอโดยวิธีใดให้ชัดเจนในแบบ ก.ม.03 อีกด้วย

และปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เหล่าศาสตราจารย์ทั้งหลายจะต้องมีความรู้ทางด้านนี้ด้วย เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่โลกของนวัตกรรมที่ทุกอย่างขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีด้านต่างๆ