การแต่งตั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษโดยวิธีพิเศษ

การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ (แต่งตั้งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ)

1. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ

หลักเกณฑ์

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยอาจเสนอขออนุมัติ ก.ม. แต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ เช่น เสนอขอแต่งตั้งอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์มาก่อน ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

การเสนอขอแต่งตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่ประกอบด้วย ตำราหรือหนังสือ และผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่มีคุณภาพดีเด่น

วิธีการพิจารณา

ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดต่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันตามแบบที่ ก.ม. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
เมื่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันพิจารณาเห็นสมควรแล้ว จึงเสนอ ก.ม. พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง
ก.ม. โดยคำแนะนำของ อ.ก.ม.วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนเป็น อ.ก.ม. วิสามัญ เพื่อพิจารณาผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ การตัดสินต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมการพิจารณาไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 และเสนอให้ ก.ม. พิจารณาอนุมัติ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษนั้น เมื่อ ก.ม. อนุมัติการแต่งตั้งแล้ว ให้ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

2. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ

หลักเกณฑ์

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยหรือสถาบันสามารถดำเนินการแต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ เช่น แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ยังไม่ครบตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนด ให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ ดังนี้

1. ผลการสอน

มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน และมีความชำนาญพิเศษในการสอนโดยผ่านการประเมินจาก อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด

2. ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย

2.1 เอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว และ

2.2 งานแต่ง เรียบเรียง แปลตำราหรือหนังสือ ที่ใช้ประกอบการศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว หรือ

2.3 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรใดๆ หรือ

2.4 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณค่าเทียบได้ผลงานในข้อ 2.2 หรือ 2.3

วิธีการพิจารณา

ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดต่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย หรือสถาบัน ตามแบบเสนอขอแต่งตั้งที่ ก.ม. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการจำนวน 5 ชุด
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.ม. กำหนด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เสนอขอ จำนวน 5 คน เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ก่อนที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันจะพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการจะต้องแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทั้งหมด และจะต้องมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับรองศาสตราจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ/ผู้ชำนาญการพิเศษ ระดับ 10 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ การตัดสินจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่า 4 ใน 5
เมื่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน อนุมัติการแต่งตั้งแล้ว ให้อธิการบดีเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง แล้วแจ้งให้ ก.ม. ตรวจสอบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการด้วย

3. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ

หลักเกณฑ์

ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยหรือสถาบันสามารถดำเนินการแต่งตั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้ เช่น เสนอขอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ วุฒิปริญญาโท ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งไม่ครบ 5 ปี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการเสนอแต่งตั้งจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติ ดังนี้

1. ผลการสอน

มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน และมีความชำนาญในการสอนโดยผ่านการประเมินจาก อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด

2. ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย

2.1 เอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว และ

2.2 งานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ หรือเขียนบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว หรือ

2.3 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ

2.4 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณค่าเทียบได้กับผลงานในข้อ 2.2 หรือ 2.3

วิธีการพิจารณา

ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดต่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ตามแบบเสนอขอแต่งตั้งที่ ก.ม. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ จำนวน 5 ชุด
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.ม. กำหนด โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เสนอขอ จำนวน 5 คน เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ก่อนที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันจะพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการจะต้องแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และจะต้องมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับรองศาสตราจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ชำนาญพิเศษ ระดับ 9 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ การตัดสินจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่า 4 ใน 5
เมื่อ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยหรือสถาบัน อนุมัติการแต่งตั้งแล้ว ให้อธิการบดีเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง แล้วแจ้งให้ ก.ม. ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการด้วย

ศาสตราจารย์ในประเทศไทย ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ

ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานระดับศาสตราจารย์จำนวนหนึ่ง มิได้สอนในมหาวิทยาลัย และมิได้มีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เลือกที่จะทำงานในบริษัทเอกชน มักจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ามหาวิทยาลัยระดับกลางค่อนข้างมาก ตัวอย่างบริษัทเอกชนที่มีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในสาขาต่างๆ เช่น ในสาขาไอที ได้แก่ ไมโครซอฟท์ ] สาขาการแพทย์ ได้แก่ Biogen สาขาสื่อสาร ได้แก่ AT&T ผลงานวิจัยจากบริษัทเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อวิถีการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ (รวมถึงศาสตราจารย์) ในสาขานั้น ๆ ทั่วโลก

ในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ( หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น

การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพื่อแต่งตั้งเช่นกัน

สำหรับตำแหน่งศาสตราภิชานอาจเป็นตำแหน่งที่มีกำหนดเวลา มักขึ้นกับปีงบประมาณหรือกองทุนศาสตราภิชานของมหาวิทยาลัยที่เชิญ ส่วนศาสตราจารย์กิตติเมธีในประเทศไทยเป็นตำแหน่งที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาปฏิบัติ งานวิจัยและบริการวิชาการที่นอกเหนือและสูงกว่างานของศาสตราจารย์ประจำ เช่น กิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างไรก็ดี ทั้งตำแหน่งศาสตราภิชานและศาสตราจารย์กิตติเมธี อาจมีเงื่อนไขในการดำรงตำแหน่งไม่เหมือนกัน เช่น ศาสตราภิชานของไทยมีวาระเพียงปีเดียว

อนึ่งการใช้ชื่อศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ “กิตติคุณ” ส่วน มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ “เกียรติคุณ” เป็นต้น ซึ่งความเป็นอาจารย์ประจำในกรณีนี้ หมายถึง การผูกพันเป็นการประจำกับคณะที่ขอแต่งตั้ง ต่างกับศาสตราจารย์เกษียณอายุที่ได้รับการต่ออายุราชการถึง 65 ปี ซึ่งถือเป็นการทำงานประจำเต็มเวลาปกติเหมือนอาจารย์ประจำทั่วไป ในประเทศไทยยังมีผู้เข้าใจว่า ศาสตราจารย์กิตติคุณ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น โดยไม่ต้องเป็นศาสตราจารย์มาก่อนซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

ศาสตรเมธาจารย์คนแรกของไทย คือ ศาสตราจารย์ ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล แห่งภาควิชา เคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการยกย่องจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) ให้เป็น ศาสตรเมธาจารย์ สวทช ประจำปี 2552 (2009 NSTDA Chair Profess

ศาสตราจารย์ของไทย ส่วนมากไม่มีผลงานในเชิงทฤษฎี แต่เป็นผลงานงานวิจัย พิสูจน์สมมติฐาน ที่ได้รับการยอมรับว่า ‘ ดีมาก ‘ ถ้าเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับของไทย (เช่น ประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย โบราณคดี) ควรได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการของ ราชบัณฑิตสภา หรือวารสารวิชาการของ สภาวิจัยแห่งชาติ มิใช่เพียงวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีความสำคัญกับศาสตราจารย์

ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ (หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) ผู้ที่เป็นศาสตราจารย์ สามารถใช้คำว่า ศาสตราจารย์ นำหน้าชื่อเพื่อลงชื่อในหนังสือ เอกสาร งานสารบรรณ เสมือนยศหรือคำนำหน้าชื่ออย่างอื่น

การแต่งตั้งศาสตราจารย์ในประเทศไทย จะต้องผ่านกระบวนการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษที่แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เพื่อแต่งตั้งเช่นกัน

ในการทำงานสายวิชาการนั้น เป็นงานที่กว้างขวางมากทุกฅนคงทราบว่ารัฐบาลได้พยายามดำเนินการปฎิรูปการศึกษาเพื่อให้ความกว้างขวางหลากกลายนั้นถูกกำหนดให้เป็นระบบเพื่อการบริหารและปฎิบัติการได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม สร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีคุณธรรมโปร่งใสและคุ้มค่าในขบวนการเหล่านี้ตัวแปรสำคัญที่สุดหรือจะเรียกว่าหน่วยการทำงานทางวิชาการ

ศาสตราจารย์ต้องมีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันนี้ใครไม่รู้หรือใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นจะถูกตราหน้าว่าเป็นฅน “ตกรุ่น” ไปเสียแล้ว แต่รู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คงไม่พอจะต้องบริหารข้อมูลเป็น มีจริยธรรม รู้ใช้ซอฟท์แวร์ที่สะดวก รวดเร็ว ราคาถูกมาใช้ให้เหมาะสมกับงานสอน ทุกวันนี้เราบริโภคเทคโนโลยีเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากเล่าที่จะเป็นตัวแปรอย่างใหญ่หลวงทางการศึกษาในทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นการสอน วิจัย บริหาร วิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

บริหารเวลาเป็น อันนี้นี้สำคัญมากเพราะการเตรียมเวลาให้กับตนเองได้ทำงานตามหน้าที่ ที่รับผิดชอบนั้น จะต้องคล้องจองกับโอกาสในการทำงาน ต้องมีสมุดพกเล่มเล็กๆเพื่อบันทึกวัน เวลา เดือน เอาไว้ พร้อมกับการนัดหมายอื่นๆ เอาไว้เพื่อกันลืม เวลานั้นมีค่ามากเมื่อเราต้องการมัน ทุกท่านคงจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเวลามาแล้ว ที่สำเร็จก็มี ที่พลาดไปก็เป็นธรรมดาแต่ควรมาสอนตรงเวลาและหยุดสอนตรงเวลาด้วยเช่นกัน

การเล็งเห็นถึงความสำคัญในการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์

ตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยตำแหน่งทางวิชาการตามกฎหมายสำหรับอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน คือ อาจารย์ (instructor) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (assistant professor) รองศาสตราจารย์  (associate professor) และศาสตราจารย์ เป็นการกำหนดตำแหน่งที่เหมือนกับในระบบอเมริกัน โดยที่ตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์ที่มีอาวุโสทางวิชาการสูงสุดและเป็นหัวหน้าภาควิชา (departmental chair) ในบางประเทศเรียกอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยในเชิงยกย่องและสุภาพว่า professor

การก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการในระดับศาสตราจารย์

เป็นเรื่องยากแต่ไม่เกินความสามารถของผู้ที่ไม่คิดย่อท้อ เพียงเราสู้ ไม่คิดท้อถอย ทุกท่านก็สามารถเป็นศาสตราจารย์ได้ในเร็ววัน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้อุดหนุนโครงการการจัดเสวนาให้ความรู้ และการสร้างกิจกรรมอันคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นให้คณาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยื่นขอตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นจำนวนเงินกว่า 5 ล้านบาทต่อปี เพื่อเปิดโอกาสให้ศาสตราจารย์ทั้งภายในและภายนอกได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่อไป

หลักสำคัญในการทำให้ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์

คือ ผลงานต้องมีและอยู่ในระดับดีมาก โอกาสต้องดี หากเป็นไปตามกฎโอกาสที่จะไม่ผ่านการพิจารณานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เทคนิคการก้าวสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นผลงานต้องเป็นเรื่องใหม่เป็นเรื่องที่โลกไม่เคยค้นพบ ห้ามทำซ้ำกับบุคคลอื่น หากเป็นงานประจำที่เราทำอยู่แล้วจะเป็นสิ่งที่เราถนัดและทำออกมาได้ดีเพราะไม่มีใครรู้เท่าเราแน่นอน เพราะผลงานต้องใช้ความอดทนมากพอควร ทุนวิจัยไม่ใช่ปัญหาต้องค้นคว้าหาเพิ่มเติมจากองค์กรภายนอก การส่ง paper ห้ามเน้นที่จำนวน ให้เน้นที่คุณภาพ การทำผลงานต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำ paper ได้ดี และสุดท้ายการทำงานต้องอาศัยทีมที่แข็งแกร่งทำงานด้วยความสามัคคี อย่าย่อท้อ

ผู้ได้รับการแต่งตั้งอาจเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ หรือนักวิชาการที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งทางวิชาการก็ได้ เป็นตำแหน่งที่กำหนดภารกิจชัดเจน มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและมีค่าตอบแทนของแต่ละตำแหน่งไม่เท่ากัน คือตำแหน่งของผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ซึ่งมหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติการสอน วิจัย หรือเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยทำงานไม่เต็มเวลา

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของศาสตราจารย์ กับนักศึกษา

ศาสตราจารย์ ผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ศาสตราจารย์แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ

20140224151513

สื่อสังคมออนไลน์ สื่อหรือช่องทางในการติดต่อในลักษณะของการสื่อสารแบบสองทางผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อรูปแบบใหม่ ที่บุคคลทั่วไปสามารถนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเองออกสู่สาธารณะโดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารประเภทต่างๆ ในปัจจุบันมีแหล่งให้บริการเครือข่ายทางสังคมเกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น Facebook, Twitter, LinkedIn, Google Plus, MySpace, YouTube, Blog, Wiki รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เปิดให้บริการ file sharing, photo sharing, video sharing และกระดานข่าว (webboard) เป็นต้น

เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือที่มีทั้งประโยชน์และโทษที่ควรระวัง โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารบางอย่างที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณะไปแล้วอาจไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อองค์กร ดังนั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดลทุกท่าน สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทางมหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Network) และแสดงตนในฐานะศาสตราจารย์หรือนักศึกษาดังนี้

1. พึงตระหนักว่า ข้อความหรือความเห็นที่เผยแพร่บน Social Network เป็นข้อความที่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบ ทั้งทางด้านสังคม และด้านกฎหมาย นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียง การทำงานและอนาคตของวิชาชีพของตนได้
2. ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการเผยแพร่ความคิดเห็นที่อาจกระตุ้นหรือนำไปสู่การโต้แย้งที่รุนแรง เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเมืองหรือศาสนา
3. ต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หากต้องการกล่าวอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนข้อความของตน ควรให้การอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลนั้นอย่างชัดเจน
4. พึงตระหนักว่า การใช้ Social Network นั้น การแบ่งแยกระหว่างเรื่องส่วนตัว และเรื่องหน้าที่การงาน เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก หากประสงค์จะใช้ Social Network เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน ควรแยกบัญชีผู้ใช้ (Account) ระหว่างการใช้เพื่อเรื่องส่วนตัว
5. หากต้องการสร้าง Page หรือ Account ที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นทางการของส่วนงานหรือมหาวิทยาลัย ต้องแจ้งให้หัวหน้าส่วนงาน หรืองานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานอธิการบดีทราบ แล้วแต่กรณี และต้องแจ้งรายชื่อของผู้ดูแล Page (Admin) หรือเจ้าของ Account นั้นให้หัวหน้าส่วนงาน หรืองานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานอธิการบดีทราบด้วย
6. ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยอาจใช้ตราสัญลักษณ์ (logo) ของหน่วยงาน ส่วนงาน หรือมหาวิทยาลัย บนรูปประกอบ profile ของตน ได้ หาก profile นั้นระบุชื่อและนามสกุลจริงอย่างถูกต้อง